Cat Paw Print

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบความรู้ที่5 เรื่อง การเลี้ยงกระรอกดิน


 

Prairie dog

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แพร์รี่ด๊อก

แพรรีด็อก (อังกฤษ: Prairie dog) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynomys (/ไซ-โน-มีส/) ในวงศ์กระรอก (Sciuridae)
แพรรีด็อกมีลักษณะโดยทั่วไป คือ ใบหูเล็ก ดวงตากลมโต ฟันแข็งแรง ขาคู่หน้าจะมีเล็บที่แหลมคมและแข็งแรง มีหน้าที่ขุดคุ้ยดินเพื่อหาอาหารและขุดโพรงอยู่อาศัย ออกหาอาหารในเวลากลางวันซึ่งกินได้ทั้งพืชและสัตว์ จำพวกหญ้า ผัก เมล็ดพืชต่าง ๆ รวมถึง แมลงและหนอน
มีสีขนสีน้ำตาลทอง ปลายหางมีสีดำ ส่วนของหางมีความยาว 3-4 นิ้ว เท้ามีสีครีม ลำตัวอ้วนกลม เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม
แม้แพรรีด็อกจะเป็นสัตว์ฟันแทะวงศ์เดียวกับกระรอก แต่จะไม่อาศัยและหากินบนต้นไม้เหมือนกระรอกทั่วไป แต่จะหากินและทำรังด้วยการขุดโพรงอยู่ตามพื้นดินทุ่งราบและพื้นที่ที่เป็นดินโล่ง เช่น ทุ่งหญ้าแพรรีในอเมริกาเหนือและเม็กซิโก มีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่[1]
แพรรีด็อกเป็นสัตว์สังคม จึงมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวผู้คุมฝูง 1 ตัว ต่อตัวเมียประมาณ 4 ตัว มีความพร้อมเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนจะเป็นระยะผสมพันธุ์ ตัวเมียใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 28-32 วัน (ประมาณ 1 เดือน) ออกลูกครอกละประมาณ 4-8 ตัวต่อปี แพรรีด็อกเกิดใหม่ยังไม่ลืมตาและขนยังไม่ขึ้น กระทั่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 หรือประมาณเดือนครึ่ง มีอายุขัยโดยเฉลี่ยในตัวเมียราว 8 ปี ส่วนตัวผู้เฉลี่ยที่ 5 ปี
แพรรีด็อกเป็นสัตว์ที่ขุดโพรงดินใช้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ในแต่ละฤดูมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นอย่างมาก โพรงที่อยู่ใต้ดินจึงต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงที่สุด ต่ำที่สุด ทนน้ำท่วมรวมทั้งไฟไหม้ลามทุ่ง โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แต่ละห้องจะอยู่ในระดับความลึกต่างระดับกัน เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เช่น ห้องเลี้ยงลูกอ่อน จะอยู่ในระดับที่มีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ ยังมีห้องใกล้กับพื้นผิวดินที่สามารถใช้หลบบรรดาสัตว์นักล่าจากด้านบนได้อย่างรวดเร็ว และยังมีห้องสำหรับการจัดเก็บเสบียงอาหาร ห้องที่สามารถใช้ฟังเสียงสัตว์นักล่าซึ่งอาจมาป้วนเปี้ยนอยู่นอกโพรง โพรงแพรรีด็อกยังมีการขยายอาณาเขตออกเป็นเมืองที่ครอบคลุมพื้นที่หลายเอเคอร์ โดยมีแพรรีด็อกประมาณ 5-35 ตัวต่อเอเคอร์ ในยุคสมัยก่อนที่มนุษย์จะเข้ามาอาศัยอยู่ในท้องทุ่ง เคยมีแพรรีด็อกครอบครองดินแดนอยู่ก่อนอย่างมากมายมหาศาล หนึ่งในเมืองของแพรรีด็อกที่พบในรัฐเท็กซัสเมื่อปี ค.ศ. 1900 ครอบคลุมพื้นที่ถึง 64,000 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรแพรรีด็อกอยู่ถึงประมาณ 400 ล้านตัว[2]
มีพฤติกรรมทางสังคมที่มักออกมาทักทายกันเองในฝูง ซึ่งเวลาที่เจอกันครั้งแรกจะทักทายกันด้วยการยิงฟันและแตะกันคล้ายกับการโอบกอดหรือจูบ จากนั้นก็จะช่วยกันทำความสะอาดขนให้กันและกัน
แพรรีด็อกมีจุดเด่นประการหนึ่งอันเป็นที่มาของชื่อ คือ เสียงร้องที่คล้ายกับเสียงสุนัขเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ
ปัจจุบัน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง



อาหารการกิน
     การดูแลเรื่องอาหารการกินของแพรี่ด็อกนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก  เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบดตและการมีชีวิตที่แข็งแรงยืนยาว  
     แพรี่ด็อกเป็นสัตว์กินพืช  ที่กินหญ้าเป็นอาหารหลักมากกว่า  80-95%   ของตลอดช่วงชีวิต  การที่เลี้ยงแพรี่ด็อกด้วยผักสด  ผลไม้  ขนม  หรืออาหารเสริมต่างๆ อย่างตามใจถือว่าเป็นการเลี้ยงที่ไม่ถูกต้อง  เพราะนั่นอาจทำให้แพรี่ด็อกมีช่วงชีวิตที่สั้นลง  การได้รับโภชนาการที่ผิดถ้าไม่ส่งผลในทันที  ก็จะส่งผลในระยะยาว  โดยจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อแพรี่ด็อกมีอายุราว 4-6 ปี  จากสถิติ แพรี่ด็อกที่ได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง  สามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานสูงสุดถึง 17 ปี
     เรื่องง่ายๆที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดสำหรับการที่จะทำให้แพรี่ด็อกอยู่กับเราไปนานๆ  คือ  "การควบคุมน้ำหนัก"  โดยน้ำหนักมาตรฐานโดยเฉลี่ยของแพรี่ด็อก คือ 1-1.4 กิโลกรัม  หากน้ำหนักเกิน 1.5 กิโลกรัม  จัดว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสียงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ  ปอด  กระดูก  ไขมันอุดตัน  ต้องได้รับการดูแลโภชนาการเป็นพิเศษเพื่อลดน้ำหนัก
     เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของแพรี่ด็อกไวต่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงชนิด  ยี่ห้อ  หรือการเพิ่ม - ลดของปริมาณอาหารนั้น  ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป  เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด  ซึ่งอาจก่อให้เกิดแก๊สในกระเพราะอาหารได้

     อาหารที่แนะนำ


หญ้าที่ดีที่สุดสำหรับแพรี่ด็อกคือ "หญ้าทิมโมธี"  ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพสูง  และเลือก
ถุงที่มีขนาดใหญ่  เพราะจะมีการหัก ตัด หรือทำให้หญ้าในส่วนที่ดีเกิดความเสียหายน้อย  กว่า  แพรี่ด็อกไม่ได้กินทุดส่วนของหญ้า  โดยจะเลือกกินเฉพาะส่วนที่ดีที่สุดเท่านั้น  ดังนั้น  การเปลี่ยน
หญ้าใหม่ทุกวันมีความจำเป็นอย่างมาก  หญ้าที่เห็นว่ายังเหลืออยู่  มันอาจเป็นเพียงเศษที่เหลือทิ้งจากการกินแล้วเท่านั้น  และการทิ้งหญ้าอาจทำให้เกิดเชื้อราได้อีกด้วย  ทั้งนี้หญ้าใหม่ๆยังช่วยกระตุ้นการอยากอาหารได้ดีกว่า
อาหารเม็ดอาหารเม็ดที่แนะนำคือ  Essentials  Oxbow  Adult  Rabbit  เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี  และยังมีสารอาหารอื่นๆที่ตรงตามความต้องการของแพรี่ด็อกที่สุด  การ   เลือกซื้ออาหารยี่ห้ออื่นนั้น  ควรคำนึงถึงปริมาณไฟเบอร์เป็นหลัก  และต้องเป็นอาหารสำหรับกระต่าย เท่านั้น สำหรับอาหารของหนู แม้คุณค่าทางโภชนาการอาจใกล้เคียงกัน  แต่ความจริงแล้วส่วนประกอบมีความแตกต่างกันมาก  สำหรับการเลือกอาหารกระต่าย  แนะนำเป็นสูตรสำหรับกระต่ายโตเท่านั้น เพราะส่วนมากอาหารเม็ดของกระต่ายเล็กนั้นจะมีส่วนผสมของอัลฟาฟ่า
หมายเหตุ  :  อัลฟาฟ่า เป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้โปรตีนและแคลเซียมสูง  สำหรับบางหลักโภชนาการที่แนะนำนี้  อัลฟาฟ่าจะจัดเป็นพืชที่ไม่เหมาะกับแพรี่ด็อก  เพราะหากให้กินอัลฟาฟ่าจะยากต่อการควบคุมปริมาณโปรตีนและแคลเซียม

CR. http://thanyapd.blogspot.com/2015/05/blog-post_3.html

 
**อาหาร "ต้องห้าม" สำหรับแพร์รี่ด็อก...**
-เมล็ดธัญพืชสำหรับนก เช่น พวกข้าวฟ่างสีต่างๆ ,อาหารหนูตะเภา ,ถั่ว ไม่ว่าจะเป็นลิสง อัลม่อน เมล็ดทานตะวันต้องห้ามเพราะ.."ร่างกายของแพร์รี่ด็อก ไม่สามารถดูดซึมไขมันได้ !!"
-ผลไม้ยอดนิยมเช่น แอปเปิ้ล องุ่น กล้วย เค้าใช้คำว่า "None of that is allowed"ผลไม้เบสิกขนาดนี้ยังต้องห้าม ก็ไม่ต้องใจดีหาผลไม้พิสดารอย่างอื่นมาให้เค้ากินนะคะ
-ผักยอดนิยม ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักบุ้ง "None of that is allowed"**
-อาหารเสริมเจ้าปัญหา นมผงทดแทน ซีรีแลค "None of that is allowed" ไม่มีช่วงอายุไหนเลยที่เค้าแนะนำให้กิน**
-หญ้าอัลฟาฟ่าเจ้าปัญหา หลายคนถกเถียงกันมานาน ขอยืนยันอีกครั้งตรงนี้ ว่าอัลฟาฟ่าไม่ดีต่อแพร์รี่ด็อกมากๆทุกช่วงอายุ ไม่มีการแนะนำให้กินเค้าใช้คำว่า "Alfalfa it is a type of grass they can never have it. it's very bad and too calorific for them"แปลตามนี้คือ "อัลฟาฟ่าเป็นหญ้าที่ไม่สามารถให้กินได้เลย มันแย่สำหรับแพร์รี่ด็อกมาก และมันทำให้ร้อนด้วย"(ได้คำตอบนี้มา เพราะโต้แย้งว่าสัตวแพทย์และผู้เลี้ยงบางคนที่นี่บอกว่าให้เน้นอัลฟาฟ่า โดยเฉพาะในวัยเด็ก)

CR.https://www.facebook.com/notes/my-exo-pet/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%81/467347150022979/


ข้อดีข้อเสีย ของแพรี่ด็อก
 ก่อนจะเริ่มเลี้ยงแพรี่ด็อก (Prairie Dog) หลายๆท่านคงอยากได้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร จขบ. จะขอร่ายยาวจากสิ่งที่ได้พบเจอมาค่ะSmiley

เกริ่นก่อนว่า แพรี่ด็อก หรือ Prairie Dog คือกระรอกดิน ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่แถวประเทศอเมริกา ธรรมชาติของเขาจะอยู่กันเป็นฝูง ในทุ่งกว้างงงงงงงง ที่มีอากาศร้อนผ่าวๆSmiley

กระรอกดินจะไม่ได้อยู่บนต้นไม้แบบประเทศไทย แต่จะขุดดินอยู่ในรูแทน และกินแต่ของแห้ง หญ้าแห้ง ดังนั้นรูปแบบการเลี้ยงจะเป็นคนละแบบกับกระรอกไทย ไม่ให้ผลไม้หรืออาหารสด ไม่เน้นความสูง เพราะดีไม่ดี ทำกรงสูงๆ แพรี่ด็อกอาจจะตกลงมาขาหัก แขนหักได้

เนื่องจากมันเป็นสัตว์สังคมมากๆ หากผู้เลี้ยงคิดจะเลี้ยงตัวเดียว คุณต้องให้เวลากับเจ้าตัวเล็กอย่างน้อยๆ 2-4 ชม. ต่อวัน (หรืออย่างพอดีๆก็ 8 ชม. โดยประมาณ...) ไม่อย่างนั้น จะพบเจอกับการอาละวาด โวยวาย พังกรง อย่างชนิดที่ไม่เคยเจอจากสัตว์ตัวไหนมาก่อนSmiley

เอาล่ะ มาเริ่มสาธยายข้อดีข้อเสียกันดีกว่า

ข้อเสีย
  • เป็นสัตว์สังคม: แพรี่ด็อก เป็นสัตว์สังคมมากๆๆๆๆๆค่ะ เลี้ยงตัวเดียว แล้วไม่ยุ่งกับเขาเหมือนเลี้ยงแฮมสเตอร์ไม่ได้เด็ดขาด ต้องมีเพื่อนให้เขา โดยเลี้ยงเป็นคู่ ซึ่งก็ต้องเตรียมใจแบกรับค่าใช้จ่ายและภาระที่เพิ่มขึ้นด้วย หรือไม่ก็เราเนี่ยล่ะ จะต้องเป็นเพื่อนเล่นกับเขา เขาจะต้องการเวลาของเราอย่างน้อยๆ 1 ชั่วโมง และต้องปล่อยวิ่งเล่น 2-4 ชม. ต่อวันค่ะ
  • ต้องให้เวลา: ถ้าคิดว่าจะเลี้ยงสัตว์ โดยจับมาอุ้ม มาเล่นวันละ 5-10 นาที หรือ 30 นาที แล้วเวลาที่เหลือก็จับเข้ากรงนั้น ขอให้ตัดตัวเลือกสัตว์ประเภทนี้ทิ้งไปเลยค่ะ เพราะเขาเป็นสัตว์ที่ติดคนมากๆ และต้องการความสนใจจากเราอย่างเต็มที่ เราต้องอยู่กับเขา เกาเขาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นแพรี่ด็อกจะอาละวาด แทะกรง กระแทกกรง และอาจจะทำให้เกิดความก้าวร้าว ไม่ยอมให้จับ หรือ กัด ได้ -> เราเตือนคุณแล้วนะSmiley
  • ทำลายข้าวของ: ถ้าคิดว่ากระต่ายกัดแทะเก่ง ขอบอกว่าเจ้าตัวนี้เขี่ยกระต่ายกระเด็นตกเวทีไปเลยค่ะ แทะทุกอย่างตั้งแต่มือเท้าคน ยันไม้ พลาสติก เหล็ก ยาง เสื้อผ้า พรม สายไฟ ฟิวเจอร์บอร์ด กระดาษ เชือก ฯลฯ แถมแทะเกือบตลอดเวลา พูดง่ายๆว่า อะไรที่เข้าปากได้ โดนหมด เพียงแต่ต้องมานั่งลุ้นว่าจะชอบแทะอะไรมากกว่ากันเท่านั้นเอง เจ้าตัวแสบของจขบ. แทะแม้กระทั่งลูกเหม็น!! (เอาไปวางไว้ในซอก กะจะใช้ไล่ไม่ให้เข้าไป หันมาดูอีกที เละเป็นชิ้นๆคาปากแล้ว) ดังนั้นการเอามาเล่นนอกกรง เราจะต้องจัดพื้นที่ให้ดีๆ ให้แน่ใจว่าจะไม่มีอะไรที่ไม่อนุญาตให้แทะอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
  • กัด: โอกาสเจอแพรี่ด็อกที่กัดคนนั้น ประมาณ 1:10 ค่ะ คือ 10 ตัว จะเจอชอบงับ ชอบกัดซักตัวนึง เป็นอัตราส่วนที่เยอะอยู่ และทุกตัวกัดหรือทำร้ายเราได้เมื่อเขาเกิดความกลัวหรือไม่พอใจ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะคนขายจะเน้นนำเสนอแต่ความเชื่องเพื่อให้ขายได้ แต่เชื่องไม่ได้หมายความว่ามันไม่กัด และเมื่อติดนิสัยชอบกัดไปแล้ว อย่าหวังว่าจะเลิกได้ง่ายๆเลยค่ะ
  • ดื้อ: แพรี่ด็อกเป็นสัตว์ที่ดื้อค่ะ ดังนั้นการสอนเขาด้วยการห้ามนั้น แทบจะเรียกว่า เป็นไปไม่ได้เลย "ยิ่งห้าม ยิ่งเหมือนยุ" คงใช้ได้ดีกับแพรี่ด็อก เช่น หากเขาสนใจอยากจะไปซอกมุมใดมุมหนึ่ง หรือพยายามจะกัดอะไรซักอย่างที่เราไม่ให้กัด เขาก็จะพยายามอยู่อย่างนั้นเรื่อยๆ ไม่หยุดหย่อนไม่ว่าจะกี่วันผ่านไป ถ้าเราห้ามเขาไว้ ยื้อเขาไว้ซ้ำๆหลายๆครั้ง จะกลายเป็นว่าทำให้แพรี่ด็อกหงุดหงิด แล้วสุดท้ายจบลงด้วยการกัดคนเลี้ยงค่ะ เป็นอะไรที่ท้าทายความอดทน ขันติ กับมนุษย์ตาดำๆอย่างเรามากๆค่ะ
  • ห้ามลงโทษด้วยการตี: การลงโทษด้วยการตีเป็นสิ่งต้องห้ามกับแพรี่ด้อก เพราะเมื่อไรที่เราลงโทษด้วยการตี แพรี่ด็อกจะหันกลับมาก้าวร้าวใส่เรา และทำร้ายเราได้ค่ะ การลงโทษที่ได้ผลคือการจับเข้ากรง หรืองดเล่นด้วย
  • ต้องมีพื้นที่วิ่งเล่น: แพรี่ด็อกเป็นสัตว์ที่มีพลังงานสูงงงงงง การเลี้ยงขังอยู่ในกรงตลอดเวลาเป็นทางเลือกที่แย่มากสำหรับสัตว์ รวมไปถึงคนเลี้ยงด้วย เพราะแพรี่จะพยายามทำทุกวิธีเพื่อออกจากรง เช่น แทะกรงจนหน้าช้ำเป็นแผล เอาหัวกระแทกกรง ส่งเสียงดังและสร้างความรำคาญแก่เจ้าของ จึงต้องปล่อยให้เขาออกมาวิ่งเล่นอย่างน้อย 2-4 ชม. ต่อวันค่ะ
  • กลิ่น: อึและฉี่จะอยู่ในระดับแฮมสเตอร์ แต่จะมีกลิ่นสาปสัตว์มากกว่ากระต่าย และมีการปล่อยกลิ่นเหม็น(สุดๆ)เมื่อเกิดความกลัว หรือตกใจ
  • ค่าดูแลรักษา อาหารแพง: แพรี่ด็อก ต้องกินหญ้าแห้ง Thimothy และอาหารเม็ดเช่น oxbow หรือ cuni complete ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง รวมถึงการพาไปรักษาก็ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเป็นสัตว์พิเศษและค่าใช้จ่ายสูง ค่าอาหารในการเลี้ยงแพรี่ด็อก ตกเดือนนึงอย่างน้อยๆก็ 300-500 บาท ยังไม่รวมค่าอุปกรณ์ตอนเริ่มต้นประมาณ 2-3 พันบาท

จบจากข้อเสียที่จขบ. ประสบมาทั้งหมดแล้ว และผู้อ่านยังคิดว่า 'รับด้ายยยยยย แค่นี้ชิวๆ' งั้นมาดูข้อดีของเจ้าตัวแสบนี้เพื่อเสริมกำลังใจกันบ้างค่ะ
  • ติดคน: ถ้าต้องการสัตว์เลี้ยงที่โคตรจะอ้อน โคตรจะต้องการเวลาของเรา อย่างกับเลี้ยงลูกตัวเองเลยทีเดียว เจ้าตัวนี้ใช่เลยค่ะ เวลาของคุณ 80% ของวันจะหายไปเพราะต้องมาดูแลเจ้าตัวนี้เนี่ยล่ะ ทั้งกวาดอึ เกามัน เล่นกับมัน ไล่ตามดุ ตามว่าเวลาไปกัดอะไรที่ไม่ให้กัด ฯลฯ
  • ฉลาด: ต้องขอยอมรับเลยว่า ถ้าตัดความดื้อของแพรี่ด็อกออกไป เรียกว่ามันเป็นสุนัขขนาดเล็กยังได้เลยค่ะ สอนอะไรก็จำได้อย่างรวดเร็ว(ยกเว้นขี้เรี่ยราด) รู้จักปรับตัวได้ดี
     << เหมือนหมาเลยว่าไหมคะ 55+
  • ทนอากาศร้อน: คือต้องยอมรับเลยว่า ปัญหาสัตว์เลี้ยงเมืองไทยที่เจอบ่อยๆก็ Heat Stroke เนี่ยล่ะ แต่เจ้าตัวนี้สามารถทนอากาศร้อนระดับบ้านเราแบบไม่ต้องเปิดแอร์ได้สบายๆค่ะ แต่ก็ควรจะมีพัดลมเป่าให้เป็นระยะๆนะคะ คนยังตับแตกตายได้ สัตว์ก็คงร้อนตายได้เช่นกัน
  • ขี้เล่น: ถึงเค้าจะติดคน แต่เขาก็ไม่ได้เรียบร้อยอะไรมาก ค่อนข้างจะไปทางขี้เล่น ร่าเริง ซึ่งเป็นอะไรที่เพิ่มความน่ารัก น่าฟัดให้เจ้าตัวนี้มากค่ะ
  • นอนเป็นเวลา: แพรี่ด็อก ตื่นกลางวันและนอนกลางคืนค่ะ ยิ่งอยู่กับคนไปนานๆเข้า เขาจะนอนเวลาเดียวกับเราและตื่นเวลาเดียวกับเราได้เลยล่ะค่ะ โดยส่วนมาก แทบจะไม่มีลุกขึ้นมาทำเสียงโวยวายในตอนกลางคืนเลย แต่ก็ยังไม่แนะนำให้เลี้ยงในห้องนอน เนื่องจากปัญหากลิ่น และการกัดแทะ หรือกระแทกกรง สร้างความน่ารำคาญให้หนักหนาพอสมควร
  • ส่งเสียงร้องได้ แต่ไม่ร้องบ่อยจนน่ารำคาญ: แพรี่ด็อก สามารถ 'เห่า' ได้ตามชื่อของเขาเลยค่ะ นั่นคือความน่ารักอย่างนึงของเขา เช่น กลับมาถึงบ้าน เขาก็จะเห่าเรียก แค่ครั้งสองครั้ง เรียกชื่อ เขาก็สามารถเห่าขานรับได้ หรือเวลาขังกรง ไม่พอใจ ก็อาจจะเห่าประท้วงเล็กน้อย เป็นต้น ไม่เห่าพร่ำเพรื่อ น่ารำคาญเหมือนสุนัข เพียงแต่ถ้าเลี้ยงในคอนโดที่มีความเข้มงวดเรื่องสัตว์มากๆ อาจจะปิดไม่อยู่ เพราะเสียงเขาดังระดับนึงค่ะ ยิ่งถ้าเป็นห้อง studio ประมาณ 30 ตรม. ไปยืนแถวๆทางเดินหน้าห้องนี่ได้ยินเสียงเห่าชัดแจ๋วเลยทีเดียว
CR. http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=shishibare&month=20-07-2013&group=2&gblog=2

 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น